บทความ

  • งานสนามบิน

  • งานในสนามบิน

  • ทักษะเฉพาะ

  • ทำงานนักบิน

  • ทำงานในประเทศไทย

  • ทำงานในสนามบิน

  • นักบิน

  • แรงงานในประเทศไทย

August.08.30

บุคคลทั่วไปก็เป็นนักบินของการบินไทยได้แค่มี 6 ข้อนี้!

นักบิน การบินไทย

รู้หรือไม่ว่าการบินไทยเปิดรับสมัครนักบินฝึกหัดด้วยนะ!

นักบิน การบินไทย

สายการบินไทยมีการรับสมัครนักบินฝึกหัดเพื่อต่อยอดไปเป็นนักบินในบริษัทการบินไทยโดยเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปสามารถลงสมัครได้ ใครใฝ่ฝันอยากเป็นนักบินของสายการบินไทยต้องห้ามพลาดเลยค่ะ ในบทความนี้ผู้เขียนจะมาเปิด 6 ข้อคุณสมบัติของบุคคลทั่วไปที่สามารถลงสมัครเป็นนักบินฝึกหัดและขั้นตอนการสมัครให้เพื่อนๆ ได้ทราบกันค่ะ

อาชีพนักบิน อาชีพที่ตกงานกะทันหันในปี 2021!

6 คุณสมบัติของผู้ที่สามารถสมัครสอบเข้าเป็นนักบินฝึกหัดของการบินไทย

นักบิน การบินไทย

-เป็นเพศชาย สัญชาติไทยอายุไม่เกิน 28 ปี (อาจมีการเปลี่ยนแปลง)

-จบการศึกษาระดับปริญญาตรีไม่จำกัดสาขา

-สามารถพูดและเขียนภาษาอังกฤษได้ดี

-พ้นภาระทางทหาร

-ไม่มีประวัติอาชญากรรม

-สุขภาพแข็งแรงและมีความสูงอย่างน้อย 165 เซนติเมตร

-มีสายตาดี

การพิจารณาการรับนักบินฝึกหัดของสายการบินไทย

นักบิน การบินไทย

การพิจารณาการรับนักบินฝึกหัดของสายการบินไทยจะพิจารณาจากผู้ที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรี มีคุณสมบัติตามข้างต้นและจะต้องผ่านขั้นตอนการสอบตามมาตรฐานของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ดังนี้

ขั้นตอนการสอบเป็นนักบินฝึกหัดของการบินไทย

ขั้นตอนที่ 1 : สอบข้อเขียนวิชา วิชาวิทยาศาสตร์ วิชาคณิตศาสตร์ และวิชาภาษาอังกฤษ

ขั้นตอนที่ 2 : เมื่อผ่านการสอบข้อเขียนแล้วจะต้องไปรับการตรวจสุขภาพที่สถาบันเวชศาสตร์การบิน กรมแพทย์ทหารอากาศ ซึ่งทางสถาบันมีเกณฑ์มาตรฐานสำหรับนักบิน (*ผู้สมัครต้องจ่ายค่าตรวจสุขภาพด้วยตนเอง)

ขั้นตอนที่ 3 : เมื่อผ่านการตรวจสุขภาพแล้วจึงจะมีสิทธิ์เข้าไปสอบสัมภาษณ์กับคณะกรรมการ โดยจะมีกัปตันอาวุโสของทางบริษัทจำนวน 3 ท่านซึ่งจะทำการสัมภาษณ์เรื่องต่างๆ เกี่ยวกับการบินตลอดไปจนถึงเรื่องราวของบริษัทค่ะ

ขั้นตอนที่ 4 : เมื่อสัมภาษณ์ผ่านตามเกณฑ์ของบริษัทแล้ว ผู้สมัครสอบจะต้องทำการเข้าสอบขั้นสุดท้ายคือการสอบทักษะการเป็นนักบินพาณิชย์จากนักจิตวิทยาซึ่งจะมีทั้งการสอบข้อเขียนและการสัมภาษณ์ โดยต้องสอบข้อเขียนผ่านก่อนจึงจะมีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ค่ะ

 

หลังผ่านการพิจารณาแล้วผู้ผ่านการพิจารณาจะถูกส่งไปเรียนการบินที่สถาบันการบินพลเรือนประมาณ 1 ปีโดยในระหว่างเรียน ทางบริษัทจะเป็นผู้ออกทุนในการเรียนการบินให้ทุกอย่าง (ค่าใช้จ่ายในการเรียนและค่ากินอยู่) แต่จะยังไม่มีสถานภาพเป็นพนักงานของบริษัทค่ะ

และเมื่อจบหลักสูตรพาณิชย์ตรีที่สถาบันการบินพลเรือนแล้วยังจะต้องกลับมาเรียนที่บริษัทเพิ่มเติมในส่วนของ Airline Transition Training (ATT) โดยเจาะลึกในเรื่องกฎระเบียบสากลในการบิน กฎหมายต่างๆ การเดินอากาศและการเข้าเรียนใน Simulator  เมื่อจบจาก ATT ผู้ที่สอบผ่านจะถูกส่งไปเรียนเกี่ยวกับระบบของเครื่องบิน เช่น โบอิ้ง 777 โดยจะเรียนเฉพาะเครื่อง ทั้งในเรื่องของระบบ เครื่องยนต์ น้ำมัน เป็นต้น โดยจะยังมีการเข้าเรียนใน Simulator อีกด้วย

หลังจากผ่านการฝึกต่างๆ แล้วนักบินฝึกหัดจะได้ Licenceซึ่งจะมีสิทธิ์ในการบินเครื่องบินจริงแต่จะต้องบินกับครูบินประมาณ 4-6 เดือนเพื่อเพิ่มประสบการณ์ และหลังจากที่ครูบินเห็นว่ามีความพร้อมตามกระบวนการตรวจสอบของบริษัทและมีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนด นักบินฝึกหัดจึงจะได้ออกมาเป็นนักบินเต็มตัวค่ะ

ใครอยากเป็นนักบินอวกาศหญิงฟังทางนี้ 3 ปัญหาที่นักบินอวกาศหญิงต้องเจอ!!

เงินเดือนและแหล่งจ้างงานของนักบินฝึกหัด

นักบิน การบินไทย

นักบินฝึกหัดที่มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรีจะได้เงินเดือนขั้นต่ำประมาณ 28,000 บาท และยังสามารถทำงานภายใต้บริษัทการบินไทย บางกอกแอร์เวย์ส THAI FLYINGและอื่นๆ ได้อีกด้วยค่ะ

3 หลักสูตรสถาบันการบินพลเรือนหนทางสู่สายอาชีพการบิน

บทส่งท้ายกับผู้เขียน : นักบินฝึกหัดของสายการบินไทยไม่ไกลเกินเอื้อม

นักบิน การบินไทย

เพื่อนๆ คนไหนเคยใฝ่ฝันที่จะได้มีอาชีพที่มั่นคงอย่างการประกอบอาชีพเป็นนักบิน ทั้งยังได้ออกบินท่องเที่ยวไปทั่วโลก ได้เปิดประสบการณ์ใหม่ๆ เจอผู้คนหลากหลายบ้างคะ

โอกาสมาถึงแล้วสำหรับเพื่อนๆ ที่ไม่ได้เริ่มต้นจากการเรียนในสถาบันการบินพลเรือนมาตั้งแต่แรกแต่เป็นบุคคลธรรมดาทั่วไปที่ฝันยิ่งใหญ่! เพราะฉะนั้นเพื่อนๆ ห้ามพลาดการเปิดรับสมัครนักบินฝึกหัดของการบินไทยเชียวนะคะ นอกจากจะเปิดโอกาสให้คนธรรมดาแล้วยังออกทุนค่าเล่าเรียนและค่ากินอยู่ให้อีกต่างหาก โอกาสดีๆ แบบนี้อย่าปล่อยไปค่ะ!

แต่ใช่ว่าการประกอบอาชีพเป็นนักบินจะไม่ประสบปัญหานะคะ เพื่อนๆ ลองอ่านบทความในลิงก์ต่อไปนี้เพื่อประกอบการตัดสินใจก่อนสมัครเข้าเป็นนักบินดูค่ะว่าสามารถยอมรับความเสี่ยงหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในภายภาคหน้าได้หรือไม่ > 5 ผลกระทบจากการเป็นนักบิน! ปัญหาที่เลี่ยงไม่ได้!

ทำงานที่
ญี่ปุ่นมีดีอย่างไร

ประเทศญี่ปุ่น
เปิดประตูต้อนรับคุณแล้ว

เมื่อประมาณช่วงเดือนเมษายน ปี พศ. 2562
ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศประเภทวีซ่าสำหรับการทำงานชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า "วีซ่าความชำนาญเฉพาะทาง" หรือ SSV (Tokutei Ginou Visa) ซึ่งวีซ่าประเภทนี้เปิดโอกาสให้กับต่างชาติที่ต้องการทำงานในประเทศญี่ปุ่น สามารถทำได้ง่ายและเข้าถึงงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทางได้อย่างดี และด้วยเหตุผลนี้จากความฝันที่ว่าอยากทำงานในประเทศญี่ปุ่นจึงกลายมาเป็นความจริงในที่สุด