ทำงานในญี่ปุ่น
วิศวกรเครื่องกลในประเทศญี่ปุ่นได้รับเงินเดือนเท่าไหร่? #ข้อมูลประจำปี 2022
July.07.14
ทักษะขั้นสูง
ทำงานในญี่ปุ่น
วิศวกร
บทความ
August.08.25
เช่นเดียวกันกับอาชีพอื่นๆ ค่ะ ที่มักจะมีอุปสรรคมากมายในเส้นทางอาชีพการงาน สถาปนิกก็เช่นกัน และบางปัญหานั้นก็เป็นปัญหาที่ยืดเยื้อยืนยาวจนเป็น 10 ปี ปัญหานี้ก็ไม่หมดไปจากอาชีพสถาปนิกเสียทีก็มีค่ะ ถ้าอยากรู้ว่าจะมีปัญหาอะไรบ้าง บทความนี้จะมาเปิดให้รู้กันไปเลย!
ปัญหาคลาสสิคที่ต้องเจอในอาชีพสถาปนิกเลยก็คืองานล้นมือแต่ต้องส่งให้ทันเวลานั่นเองค่ะ เพราะสถาปนิกนั้นต้องอาศัยความเนี้ยบสักหน่อย แล้วยังต้องคอยแก้งานตามบรีฟของลูกค้าอีกทำให้งานยิ่งเสร็จช้าไปใหญ่ บวกกับไม่ได้รับงานแค่งานเดียวทำเอาหลายๆ คนหัวหมุนไปเลยล่ะค่ะ
ในบางทีอาจรู้สึกว่า “ยังมีเวลา ขอแก้เส้นตรงนี้หน่อย” หรือ “เกิดอาการลังเล” ขึ้นมา ต้องตัดใจให้เด็ดขาดค่ะ! เพราะเดี๋ยวงานจะออกมาไม่ทันส่ง!
วิธีแก้ก็ไม่ยากแต่ไม่ง่ายค่ะ คือการจัดสรรเวลาการทำงานให้ดีนั่นเอง อย่างคนรู้จักของผู้เขียนจะทำงานล่วงหน้าไปก่อนเลย เช่น ตรวจงานวันจันทร์ ก็จะทำงานในส่วนอื่นๆ ที่นอกเหนือจากที่ต้องได้รับการตรวจสอบไปด้วยเพื่อที่จะได้ตรวจและแก้ทีเดียว ทำให้มีเวลาเยอะขึ้นค่ะ ทั้งนี้ก็อาจขึ้นอยู่กับบริษัทด้วยว่าระบบการทำงานภายในเป็นอย่างไร
ปัญหาต่อมาคือการหมดไอเดีย คิดแบบไม่ออกนั่นเองค่ะ เหมือนเราเล่นลูกเล่นที่มีไปหมดแล้ว งานต่อไปจะเล่นอะไร จะทำอะไรดี ซึ่งเป็นปัญหาที่ค่อนข้างแก้ยากทีเดียวค่ะ เพื่อนๆ อาจจะต้องลองปรับมุมมอง เปลี่ยนวิธีคิด วิธีมองสิ่งต่างๆ ดูเพื่อให้ได้ไอเดียจากมุมมองใหม่ๆ มากขึ้นหรือจะออกไปท่องเที่ยว พักผ่อนกินลมชมวิว ดื่มด่ำกับบรรยากาศให้สมองได้พักผ่อนก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้เราได้ไอเดียใหม่ๆ ได้มากขึ้นค่ะ
รู้หรือไม่? แค่มี 5 ข้อนี้ก็ถือสัญชาติไทยไปเป็นสถาปนิกในญี่ปุ่นได้!
ต่างคนก็ต่างความคิดใช่ไหมล่ะคะ การที่ความคิดจะตรงกันไปซะหมดก็เป็นไปได้ยาก หนึ่งในปัญหาที่สถาปนิกต้องเจอเลยคือภาพในหัวของเราไม่ตรงกับภาพในหัวลูกค้านั่นเอง ในจุดนี้ควรทำความเข้าใจให้ตรงกันในระหว่างการทำงาน พร้อมแก้แบบก่อนที่จะไปถึงขั้นตอนก่อสร้างนะคะ ไม่อย่างนั้นล่ะก็อาคารที่สร้างเสร็จจะถูกลูกค้าไม่พอใจเอาได้ค่ะ
เชื่อว่าผู้ที่ทำงานสถาปนิกจะต้องเจออย่างน้อยสักครั้งในชีวิตที่เจอซินแสทักถึงดวง ฮวงจุ้ยจนไม่เป็นอันทำอะไรแน่นอน จะปรับจะเปลี่ยนโครงสร้าง จะออกแบบอะไรก็ไม่ถูกกับดวงชะตาไปเสียหมด ไหนจะต้องจับคู่สีมงคล ดูดวงชะตาเจ้าของบ้าน สารพัดความปวดหัวเลยค่ะ
แต่ปัญหาของซินแสก็อยู่คู่คนไทยมาตั้งช้านานไม่เคยหมดไปเสียทีนะคะ ยังคงมีปัญหาของ สถาปนิก vs ซินแสให้ได้รับชมกันอยู่เรื่อยๆ จนแทบจะกลายเป็นเรื่องตลกไปเสียแล้ว แหม แต่คนออกแบบเนี่ยไม่ตลกแต่ปวดหัวมากกว่าค่า
สถาปนิกนั้นไม่ได้เป็นผู้ทำทุกอย่างคนเดียวตั้งแต่ออกแบบยันก่อสร้างนะคะ แต่ยังมีผู้ร่วมงานอีกหลากหลายอาชีพที่จะต้องมาประสานงานกัน เช่น วิศวกร คนคุมงานภาคสนาม นักออกแบบและตกแต่งภายใน เป็นต้น ซึ่งเมื่อมีหลายฝ่ายเข้ามาร่วมกันทำงานโปรเจคที่ใหญ่ขนาดนี้ ก็ยากที่จะสื่อสารกันให้ได้ภาพรวมไปในทางเดียวกันค่ะ
ยิ่งไปกว่านั้นถ้าลูกค้าต้องการโครงสร้างรูปแบบอาคารแบบหนึ่ง แต่ต้องการการตกแต่งภายในอีกแบบหนึ่งจะยิ่งทำให้ภาพรวมนั้นดูขัดกันจนออกมาไม่ลงตัวได้อีกด้วยค่ะ หรือแม้แต่กับวิศวกรหากไม่คุยกันให้ดีก็อาจเจอเสาตั้งตระหง่านอยู่กลางห้องก็เป็นได้ค่ะ
เป็นยังไงกันบ้างคะกับ 5 ปัญหาน่าปวดหัวของอาชีพสถาปนิก ยิ่งเป็นปัญหาของซินแสด้วยแล้วยิ่งยากที่จะแก้ไขเลยค่ะ เพราะเป็นความเชื่อส่วนบุคคลของลูกค้า สถาปนิกเองอาจจะต้องจำยอมแก้แบบวนไปจนกว่าจะได้แบบที่ถูกดวงชะตา
และหากเพื่อนๆ คนไหนสนใจอยากเดินในเส้นทางอาชีพสถาปนิก สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อเตรียมตัวเป็นสถาปนิกได้ที่ > เปิด 3 เส้นทางไขข้อข้องใจ อยากเป็นสถาปนิกต้องเรียนอะไร?
ประเทศญี่ปุ่น
เปิดประตูต้อนรับคุณแล้ว
เมื่อประมาณช่วงเดือนเมษายน ปี พศ. 2562
ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศประเภทวีซ่าสำหรับการทำงานชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า "วีซ่าความชำนาญเฉพาะทาง" หรือ SSV (Tokutei Ginou Visa) ซึ่งวีซ่าประเภทนี้เปิดโอกาสให้กับต่างชาติที่ต้องการทำงานในประเทศญี่ปุ่น สามารถทำได้ง่ายและเข้าถึงงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทางได้อย่างดี และด้วยเหตุผลนี้จากความฝันที่ว่าอยากทำงานในประเทศญี่ปุ่นจึงกลายมาเป็นความจริงในที่สุด