ทำงานในญี่ปุ่น
วิศวกรเครื่องกลในประเทศญี่ปุ่นได้รับเงินเดือนเท่าไหร่? #ข้อมูลประจำปี 2022
July.07.14
ทักษะขั้นสูง
ทำงานในญี่ปุ่น
วิศวกร
บทความ
August.08.11
เมื่อผู้ถึง องค์กรบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ หรือที่เราเรียกกันกว่า องค์การนาซา (Nasa) ทุกคนต้องนึกถึงนักบินอวกาศกันใช่ไหมละคะ องค์การนี้เรียกได้ว่าเป็นองค์การที่คัดเลือกนักบินอวกาศมากความสามารถที่จะช่วยให้วงการอวกาศได้พัฒนาได้อย่างก้าวไกล ทำให้การได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของผู้สำรวจโลกอวกาศอย่างนักบินอวกาศ อาจกลายเป็นจุดเริ่มต้นสิ่งที่ยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติได้เช่นกันค่ะ ก่อนที่เราจะไปเริ่มกันที่ 4 เรื่องน่ารู้ของนีล อาร์มสตรอง และสจ๊วต รูซา เรามาทำความรู้จักกับประวัติของทั้งสองคนแบบคร่าว ๆ กันก่อนดีกว่า!
มารู้จักกับ [6 งานน่าสนใจ] ในสนามบินสุโขทัย ที่เปิดรับสมัครบ่อยและไม่ควรพลาด
นีล อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong) นักบินอวกาศชาวอเมริกันที่ได้ชื่อว่า ‘เป็นมนุษย์ที่ได้เหยียบพื้นผิวดวงจันทร์คนแรกของโลก’ เมื่อการเดินทางของเขาถึงดวงจันทร์ได้สำเร็จ เขาก็ได้กล่าววาทะที่ช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับมนุษยชาติหลายท่า “That’s one small step for (a) man, one gaint leap for mankind. นี่คือก้าวเล็ก ๆ ของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดครั้งยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติ” ซึ่งนับจุดเริ่มต้นการสำรวจดวงจันทร์ได้สำเร็จครั้งนี้ ถือเป็นก้าวเล็ก ๆ ของแวดวงอวกาศเลยก็ว่าได้ และทำให้เขาได้รับรางวัลเหรียญเกียรติยศจากรัฐสภาอวกาศ รวมถึงเหรียญแห่งอิสรภาพของประธานาธิบดี
สจ๊วต รูซา (Stuart Roosa) นักบินชาวอเมริกันมากความสามารถอีกหนึ่งท่าน เขาคนนี้เป็นทั้งนักบินอวกาศ วิศวกรการบิน ควันจัมเปอร์ กองทัพอากาศสหรัฐฯ และนักบินทดสอบ อีกทั้งเขายังเป็นผู้ชายใน 24 คนที่ได้เดินทางไปยังดวงจันทร์ และเป็น 1 ใน 5 ของนักบินอวกาศของ Oklahoman อีกทั้งได้รับการแต่งตั้งให้เข้าสู่หอเกียรติยศอวกาศนานาชาติ และหอเกียรติยศนักบินอวกาศแห่งสหรัฐอเมริกา
[6 งานด้านการสนับสนุนการบิน] ที่เปิดรับสมัครบ่อยในสนามบินจังหวัดนครศรีธรรมราช
อาชีพนักบินอวกาศ เป็นอาชีพแสนเท่และแสนจะดูดีสำหรับเด็ก ๆ หรือผู้ใหญ่หลายคน ที่ใฝ่ฝันต้องการเดินทางไปสู่โลกอันกว้างใหญ่นอกเหนือจากโลกใบเดิม ออกสำรวจพื้นที่ใหม่ในดินแดนที่ไม่เคยเห็น หากใครที่ผ่านมาอ่านบทความนี้ มีความใฝ่ฝันหรือคลั่งไคล้เกี่ยวกับอาชีพนักบินอวกาศ คิดไม่ผิดแน่นอนค่ะที่ได้มาอ่านบทความนี้! เรามาดู 4 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับนีล อาร์มสตรอง และสจ๊วต รูซา สองนักบินอวกาศมากความสามารถขององค์กรนาซา ที่ได้ไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ มาเริ่มกันเลยดีกว่าค่ะ…
การส่งมนุษย์ขึ้นไปเหยียบดวงจันทร์ได้สำเร็จของทั้งคู่ ต่างมาจากโครงการอะพอลโลค่ะ เป็นเป้าหมายที่จะนำส่งมนุษย์ขึ้นไปสำรวจดวงจันทร์ขึ้นไปครั้งละ 3 คน ซึ่งนีล อาร์มสตรองได้เป็นผู้บังคับการ และถูกส่งนำร่องในภารกิจอะพอลโล 11 เป็นยานลำดับแรกที่ได้นำนักบินอวกาศลงบนพื้นผิวดวงจันทร์ ส่วนสจ๊วต รูซาได้เป็นนักบินควบคุมยานบังคับการ และถูกนำร่องในภารกิจอะพอลโล 14 เป็นยานลำดับที่สามที่นำนักบินอวกาศลงบนดวงจันทร์
ทั้งสองประสบความสำเร็จในโครงการอะพอลโลได้ เป็นผลมาจากที่ทั้งสองได้มุ่งเน้นและสร้างแรงบันดาลใจในการบินมาตั้งแต่เด็ก พวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการบิน หรือการสร้างเครื่องบินจำลอง ซึ่งทำให้ทั้งสองกลายเป็นนักบินอวกาศที่ประสบความสำเร็จในท้ายที่สุด
จากบทสัมภาษณ์ของ นีล อาร์มสตรอง
“I began to focus on aviation probably at age eight or nine, and inspired by what I’d read and seen about aviation and building model aircraft, why, I determined at an early age—and I don’t know exactly what age, while I was still in elementary school—that that was the field I wanted to go into, although my intention was to be—or hope was to be an aircraft designer. I later went into piloting because I thought a good designer ought to know the operational aspects of an airplane.”
อ่านบทสัมภาษณ์เพิ่มเติม คลิกที่นี่
ก่อนหน้าที่ทั้งคู่จะมาทำอาชีพนักบินอวกาศให้กับองค์กรนาซานั้น ทั้งสองต่างเคยทำอาชีพเกี่ยวกับการบินมาก่อน โดยนีล อาร์มสตรอง ได้เป็นนักบินทหารเรือ และนักบินทดสอบ อีกทั้งยังเป็นนักบินรบในกองทัพเรือสหรัฐอเมริการ่วมรบในสงครามเกาหลี ส่วนสจ๊วต รูซา ได้เข้าร่วมโรงเรียนนักบินวิจัยการบินและอวกาศของกองทัพอากาศสหรัฐฯ และเป็นนักบินทดสอบในแคลิฟอร์เนีย
อาชีพก่อนหน้าของทั้งสองนั้น จะมีความเกี่ยวข้องในเรื่องของการบิน และได้ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ เพื่อผลประโยชน์ของคนทุกคน ซึ่งเป็นไปตามคำขวัญขององค์กรนาซา จึงทำให้ส่วนนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ทั้งสองได้รับการคัดเลือกเป็นนักบินอวกาศภายใต้องค์กรแห่งนี้ ถ้าเพื่อน ๆ กำลังมองหาอาชีพก่อนจะมาเป็นสมาชิกขององค์กรนาซา เพื่อน ๆ อาจจะดูในเรื่องอาขีพนักบินในด้านอื่น เพื่อประกอบการเข้าสมัครองค์กรนาซาก็ได้นะคะ!
นีล อาร์มสตรอง ได้เข้าศึกษาเรียนมหาวิทยาลัยเพอร์ดู และมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นแคลิฟอร์เนีย ซึ่งมหาวิทยาลัยทั้งสองที่มีชื่อเสียงด้านวิศวกรรมศาสตร์ ส่วนสจ๊วต รูซา ได้เรียนที่มหาวิทยาลัยแอริโซนา มหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอคลาโฮมา และได้รับวิทยาศาสตรบัณฑิตปริญญา ในวิศกรรมการบินจากมหาวิทยาลัยโคโลราโดเบลเดอร์
ด้วยความสามารถของทั้งสองในเรื่องของวิศวกรรมการบินและวิศวกรรมศาสตร์ ทำให้เราเห็นได้ชัดเลยใช่ไหมคะ ว่าการเรียนสายที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานภายในอวกาศมีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน เช่น ทำให้มีความรู้ในเรื่องเครื่องยนต์ หรือการควบคุมขับยานอวกาศที่เป็นผลมาจากการเรียนด้านการบิน ดังนั้นเพื่อน ๆ ที่อยากจะเข้าองค์กรนาซ่า ก็ควรศึกษาสายงานที่อยากทำในองค์กร เพื่อจะได้เลือกสายการเรียนให้ตรงกับความต้องการของงานอนาคตกันด้วยนะคะ
6 คุณสมบัติที่ต้องอ่าน!! ก่อนจะสมัครเป็นพนักงานต้อนรับในสนามบินสุวรรณภูมิ
เมื่อมีความฝันแล้ว ลำดับต่อไปคือการทำความฝันให้สำเร็จ อาชีพนักบินอวกาศเป็นอาชีพที่ไม่ได้เป็นกันง่าย ๆ แต่รับรองได้ค่ะว่าถ้ามีความมุ่งมั่น แน่วแน่ และตั้งใจแล้ว เพื่อน ๆ สามารถเป็นนักบินอวกาศได้เหมือนกับนีล อาร์มสตรอง และสจ๊วต รูซา ได้อย่างแน่นอน! สุดท้ายนี้ผู้เขียนก็ขอเป็นกำลังใจให้กับว่าที่นักบินอวกาศทุก ๆ คนด้วยนะคะ
“5 เหตุผลที่ควรดูหรืออ่าน Space Brothers” สุดยอดการ์ตูนที่จะพาคุณไปสู่ห้วงนักบินอวกาศ!
ประเทศญี่ปุ่น
เปิดประตูต้อนรับคุณแล้ว
เมื่อประมาณช่วงเดือนเมษายน ปี พศ. 2562
ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศประเภทวีซ่าสำหรับการทำงานชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า "วีซ่าความชำนาญเฉพาะทาง" หรือ SSV (Tokutei Ginou Visa) ซึ่งวีซ่าประเภทนี้เปิดโอกาสให้กับต่างชาติที่ต้องการทำงานในประเทศญี่ปุ่น สามารถทำได้ง่ายและเข้าถึงงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทางได้อย่างดี และด้วยเหตุผลนี้จากความฝันที่ว่าอยากทำงานในประเทศญี่ปุ่นจึงกลายมาเป็นความจริงในที่สุด