ทำงานในญี่ปุ่น
วิศวกรเครื่องกลในประเทศญี่ปุ่นได้รับเงินเดือนเท่าไหร่? #ข้อมูลประจำปี 2022
July.07.14
ทักษะขั้นสูง
ทำงานในญี่ปุ่น
วิศวกร
บทความ
July.07.07
การเป็น “สจ๊วต” ตัวน้อย ล้วนอยู่ในตัวของเราทุกคนค่ะ ถือเป็นจุดเด่นของหนัง STUART LITTLE: สจ๊วต ลิตเติ้ล ที่ได้สื่อออกมาผ่านหนูน้อยตัวหนึ่งที่มีชื่อว่า “สจ๊วต” โดยเจ้าหนูสจ๊วต ลิตเติ้ลเป็นตัวแทนของหนูตัวเล็ก แต่มีพร้อมไปด้วยทักษะความสามารถหลากหลายด้าน เจ้าหนูสจ๊วตสามารถขับรถ ขับเครื่องบิน และบังคับเรือ เหมือนกับอาชีพสจ๊วตที่มีหลายรูปแบบ อาทิ เจ้าหน้าที่บริการภายในเครื่องบิน รถไฟ โรงแรม หรือโรงอาหาร จึงทำให้หนังเรื่องนี้บอกเล่าอาชีพสจ๊วตออกมาได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ ชื่อของเจ้าหนูแสนซน “Stuart” เดิมมาจากคำว่า “Stiward” ในภาษาอังกฤษสมัยก่อน จนเปลี่ยนมาเป็นคำที่คุ้นตากันในอาชีพ “Steward” ที่ใช้เรียกกันในปัจจุบันนั่นเองค่ะ นอกจากการภาพยนตร์ได้สร้างแรงบันดาลใจของการทำอาชีพสจ๊วตแล้ว ตัวภาพยนตร์ยังได้พูดถึงทักษะของการเป็นสจ๊วตที่ดีเอาไว้หลายข้อด้วยกัน จะมีอะไรบ้างเราไปดูกันเลย!
4 หน้าที่ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินที่ไม่ได้มีแค่ต้อนรับผู้โดยสาร!
หนูน้อยสจ๊วต ลิตเติ้ล เป็นหนูที่ช่างสังเกตและใส่ใจผู้อื่นอยู่เสมอค่ะ การสังเกตที่ดีจะทำให้ผู้อื่นรับรู้ได้ถึงความใส่ใจของเรา และเราสามารถเก็บข้อมูลเพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ทั้งในการตั้งคำถามในสิ่งที่เห็น รวมถึงสามารถมองข้อมูลที่ได้รับอย่างเป็นระบบระเบียบมากยิ่งขึ้นด้วยเช่นกัน
ในทุก ๆ ไตรภาคของหนังเรื่องนี้ เราจะเห็นได้เลยค่ะว่า หนูน้อยสจ๊วต ลิตเติ้ล สามารถปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นได้อยู่เสมอ การปรับตัวต้องเริ่มจากการเป็นผู้พูดที่ดีและเป็นผู้ฟังที่ดี เพื่อเปิดโอกาสให้ตัวเองรับข้อมูลของอีกฝั่งได้อย่างแม่นยำและการเป็นผู้พูดที่ดีนั้น ยังช่วยสร้างความประทับใจให้กับอีกฝ่ายด้วยได้เช่นกัน จึงทำให้ครอบครัวลิตเติ้ลทุกคนรู้สึกประทับใจ และยอมรับเจ้าหนูสจ๊วตเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของครอบครัวลิตเติ้ล
โบยบินเหนือน่านฟ้า ไปกับ “4 สิ่งที่ดีที่สุดของการเป็นกัปตันเครื่องบิน”
ทักษะที่สำคัญของการทำงานในที่ต้องพบปะกับผู้คนหรือทำงานร่วมกับคนในองค์กร การทำงานเป็นทีมคือทักษะที่ทุกองค์กรต่างมองหา และเจ้าหนูลิตเติ้ล สจ๊วตเองก็มีทักษะนี้ ดังในตัวหนังภาคสอง ฉากที่สจ๊วตจะต้องร่วมมือกับเจ้าแมวสโนว์เบล เพื่อออกตามหานกน้อยมาร์กาโล เดิมทีสจ๊วตและสโนว์เบลล์ทั้งคู่ต่างเป็นสัตว์ต่างสายพันธุ์ แต่ด้วยการทำงานกันเป็นทีมจึงทำให้ทั้งสองบรรลุภารกิจได้อย่างไม่น่าเชื่อเลยค่ะ
แน่นอนว่าการสื่อสารกับผู้โดยสาร เพื่อน ๆ จะต้องมีความรู้จริงในการสื่อสารค่ะ และต้องคำนึงถึงความถูกต้องและความครบครันของข้อมูลที่ต้องการสื่อสาร สามารถเลือกใช้คำพูดร่วมกับท่าทางให้เหมาะสมในแต่ละสถานการณ์ เหมือนกับที่เจ้าหนูน้อยสจ๊วต ลิตเติ้ลที่ในตอนแรกนั้นมีผู้คนจำนวนมากต่างไม่ยอมรับในตัวตนของเขา แต่ด้วยทักษะการสื่อสารที่สจ๊วต ลิตเติ้ลได้เลือกใช้กับแต่ละคนอย่างเหมาะสม ทำให้มีผู้คนยอมรับตัวตนของเขาในท้ายที่สุด
ปัญหาสามารถเกิดขึ้นได้อยู่ในทุกอาชีพรวมถึงอาชีพสจ๊วตค่ะ เจ้าหนูสจ๊วต ลิตเติ้ลเองก็ประสบปัญหาความวุ่นวายในตัวหนังทุก ๆ ภาคเช่นเดียวกัน เมื่อปัญหาเกิดขึ้นสิ่งแรกที่ควรทำก็คือ ต้องความเข้าใจถึงปัญหา เตรียมพร้อมจะรับมือถึงปัญหาที่ต้องแก้ จากนั้นค่อยนำปัญหานั้นมาวิเคราะห์ว่าสามารถแก้ปัญหาออกไปทิศทางใดได้บ้าง และท้ายที่สุดผลลัพธ์จะออกมาอย่างไร ส่งผลอะไรกับตัวเองและคนอื่น ๆ
ทำไมแอร์โฮสเตสต้องกำหนดส่วนสูง? พร้อมอัปเดต!! สายการบินสำหรับสาวไซซ์เล็กในปี 2021
จบกันไปแล้วนะคะ กับ 5 ทักษะสำคัญสู่การเป็นสจ๊วต โดยทักษะที่เราได้หยิบยกมานั้น เพื่อน ๆ สามารถนำไปประกอบใช้ร่วมกับอาชีพสจ๊วตเพื่อให้การทำงานออกมามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นค่ะ ซึ่งภาพยนตร์สจ๊วต ลิตเติ้ลนั้นสามารถดูได้ทุกเพศทุกวัย เด็กดูก็ได้ ผู้ใหญ่ดูก็ดี ครบครันทั้งความรู้และความเพลิดเพลินเลยทีเดียว เป็นหนังเก่าที่สามารถทำให้คุณตกหลุมรักการเป็นสจ๊วตตัวน้อยได้ง่าย ๆ เลยล่ะค่ะ หวังว่าเพื่อน ๆ จะได้รับประโยชน์และความเพลิดเพลินกับบทความนี้กันนะคะ ผู้เขียนขอเป็นกำลังใจให้กับสจ๊วต ลิตเติ้ลทุก ๆ คนค่ะ!
ประเทศญี่ปุ่น
เปิดประตูต้อนรับคุณแล้ว
เมื่อประมาณช่วงเดือนเมษายน ปี พศ. 2562
ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศประเภทวีซ่าสำหรับการทำงานชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า "วีซ่าความชำนาญเฉพาะทาง" หรือ SSV (Tokutei Ginou Visa) ซึ่งวีซ่าประเภทนี้เปิดโอกาสให้กับต่างชาติที่ต้องการทำงานในประเทศญี่ปุ่น สามารถทำได้ง่ายและเข้าถึงงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทางได้อย่างดี และด้วยเหตุผลนี้จากความฝันที่ว่าอยากทำงานในประเทศญี่ปุ่นจึงกลายมาเป็นความจริงในที่สุด