ทำงานในญี่ปุ่น
วิศวกรเครื่องกลในประเทศญี่ปุ่นได้รับเงินเดือนเท่าไหร่? #ข้อมูลประจำปี 2022
July.07.14
ทักษะขั้นสูง
ทำงานในญี่ปุ่น
วิศวกร
บทความ
May.05.28
สำหรับน้องๆ คนไหนที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักบิน แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเรียนอะไร ไม่ต้องห่วงไปค่ะ วันนี้เราจะมาเปิดเส้นทางสู่การเป็นนักบินให้กับน้องๆ เอง
แต่ก่อนอื่นน้องๆ ควรทราบไว้ก่อนว่าการจะเป็นนักบินได้ น้องๆ จะต้องสอบ การสอบ Qualified Pilot หรือก็คือการสอบแข่งขันระหว่างนักบินที่มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ด้วยกัน ได้แก่นักบินที่เพิ่งจบจากสถาบันการบินและนักบินที่ต้องการย้ายสายการบินค่ะ หมายความว่าในการสอบแข่งขัน Qualified Pilot นั้นไม่ได้มีเพียงนักบินที่ถือใบอนุญาตพาณิชย์ตรีเข้าสอบเท่านั้น แต่จะมีนักบินที่ถือใบอนุญาตนักบินพาณิชย์เอก หรือ Airline Transport Pilot License (ATPL) หรือก็คือนักบินที่มีประสบการณ์ในการบินในสายการบินมาแล้วระดับหนึ่งมาสอบด้วยนั่นเองค่ะ หมายความว่าการสอบนั้นก็ไม่ใช่เรื่องง่ายเลยนะคะ
ถ้าพร้อมแล้วเราไปดูเส้นทางสู่การเป็นนักบินกันเลย!
STUDENT PILOT หรือก็คือ การสอบชิงทุนของสายการบินนั่นเองค่ะ หากสอบผ่านก็จะถูกส่งไปเรียนในสถาบันการบินตามสายการบินที่ต้นสังกัดกำหนดเป็นระยะเวลาประมาณ 1 ปี ซึ่งการได้รับทุนจากสายการบินนั้นก็เป็นหลักประกันให้ตัวของเราหลังเรียนจบด้วยว่าเมื่อเรียนจบไปและได้รัยใบอนุญาตนักบินพาณิชย์แล้ว จะได้รับเข้าทำงานเป็นนักบินในสายการบินที่ได้รับทุนแน่นอน!
คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้สมัคร
-จบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ แต่ต้องอายุไม่เกิน 28 ปี
-ไม่มีประวัติอาชญากรรม
-ส่วนสูงไม่ต่ำกว่า 165 เซนติเมตร. (ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดแต่ละสายการบิน)
ขั้นตอนและข้อสอบมีอะไรบ้าง?
-สอบข้อเขียน : ภาษาอังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์
-สอบสัมภาษณ์
-สอบความถนัดในการเป็นนักบินหรือAptitude Test
-ตรวจร่างกาย
*หลังจากเรียนจบหลักสูตรจากสถาบันการบินจะได้ License PPL : Private Pilot License หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล (40 ชั่วโมง) และ CPL : Commercial Pilot License นักบินพาณิชย์ (200 ชั่วโมง)
ทำไมแอร์โฮสเตสต้องกำหนดส่วนสูง? พร้อมอัปเดต!! สายการบินสำหรับสาวไซซ์เล็กในปี 2021
สำหรับน้องๆ สายสามัญและปวช. ที่อยากทราบว่าอยากเป็นนักบินต้องเรียนอะไรและอยากเรียนให้ตรงสายมากที่สุด ในปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยและสถาบันอีกหลายแห่งที่มีหลักสูตรทางด้านนักบินพาณิชย์อยู่เพื่อช่วยสานฝันของน้องๆ ให้เป็นจริงค่ะ เพื่อที่จะได้เป็น Qualified Pilot หรือ นักบินที่มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ (Commercial Pilot license) แต่ละสถาบันก็จะมีการจัดหลักสูตรที่แตกต่างกันออกไป ในบทความนี้จะขอยกตัวอย่างมหาวิทยาลัยศรีปทุมและสถาบันการบินพลเรือนขึ้นมาแนะนำค่ะ
สถาบันการบินพลเรือนแบ่งหลักสูตรการเรียนออกเป็น หลักสูตรภาคพื้น หลักสูตรภาคอากาศและหลักสูตรอบรม ซึ่งค่อนข้างครบถ้วนเลยทีเดียวค่ะ
หลักสูตรที่น่าสนใจในสถาบันนี้ ในทัศนะของผู้เขียนแล้วขอแนะนำเป็นหลักสูตรภาคอากาศที่ประกอบไปด้วย
-หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี – เครื่องบินเฮลิคอปเตอร์
-หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล – เฮลิคอปเตอร์
-หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล – เครื่องบิน
-หลักสูตรนักบินพาณิชย์ตรี – เครื่องบิน
-CATC Aircraft Fleet
มหาวิทยาลัยศรีปทุมมีการจับมือทางด้านวิชาการและด้านบุคลากรกับสถาบันการศึกษาและหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่มีชื่อเสียงทางด้านธุรกิจอย่างกว้างขวาง อาทิเช่น การบินไทย และ สถาบันฝึกอบรมด้านการบิน หรือ TFTA ทำให้น้องๆ จะได้เรียนรู้ได้อย่างมีคุณภาพค่ะ
คณะวิทยาลัยการบินและคมนาคมของมหาวิทยาลัยศรีปทุมนั้นจัดเต็มกับความรู้และประสบการณ์เพื่อให้น้องๆ ได้รับเทคนิคและความรู้จากมืออาชีพมากมายเลยค่ะ
สนใจอ่านรายละเอียดหลักสูตร คลิก
สำคัญที่สุดสำหรับการเรียนเพื่อไปเป็นนักบินทั้งจากมหาวิทยาลัยและสถาบันการบินนั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ได้รับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี หรือ Commercial Pilot License (CPL) ซึ่งเมื่อได้รับใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว จะทำให้สามารถทำการสอบแข่งเพื่อเข้าไปเป็นนักบินสายการบินต่างๆ ได้ค่ะ
ข้อควรรู้*
ไม่ใช่ว่าเมื่อสำเร็จการศึกษาจากสถาบันการบินแล้ว น้องๆ จะได้ก้าวขึ้นเป็นกัปตันทันทีนะคะ น้องๆ จะค่อยๆ ไต่ระดับจาก “นักบินฝึกหัด” เก็บชั่วโมงและไต่ระดับไปสู่ “นักบินผู้ช่วย” และกว่าจะได้เป็นกัปตันนั้นใช้เวลาไม่น้อยกว่า 8 ปีเลยค่ะ บางสายการบินต้องใช้เวลาถึง 12 ปีเลยทีเดียว
งานในสนามบินมีอะไรบ้าง? มารู้จักกับ 9 งานน่าสนใจที่คุณอาจยังไม่รู้มาก่อน!
การเป็นนักบินในความคิดของใครหลายคนคงเป็นเรื่องเกินเอื้อมอยู่มากใช่ไหมคะ แต่ในสมัยนี้นั้นมีการเปิดการสอนหลักสูตรการบินเยอะมากทีเดียวค่ะ ทำให้ฝันของน้องๆ หลายๆ คนสามารถเป็นจริงได้แน่นอน ที่เหลือก็ขึ้นอยู่กับความตั้งใจและความพยายามของน้องๆ เอง ผู้เขียนขอเป็นอีก 1 กำลังใจให้น้องๆ ได้ทำตามความฝันได้สำเร็จนะคะ!
ประเทศญี่ปุ่น
เปิดประตูต้อนรับคุณแล้ว
เมื่อประมาณช่วงเดือนเมษายน ปี พศ. 2562
ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศประเภทวีซ่าสำหรับการทำงานชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า "วีซ่าความชำนาญเฉพาะทาง" หรือ SSV (Tokutei Ginou Visa) ซึ่งวีซ่าประเภทนี้เปิดโอกาสให้กับต่างชาติที่ต้องการทำงานในประเทศญี่ปุ่น สามารถทำได้ง่ายและเข้าถึงงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทางได้อย่างดี และด้วยเหตุผลนี้จากความฝันที่ว่าอยากทำงานในประเทศญี่ปุ่นจึงกลายมาเป็นความจริงในที่สุด