ทำงานในญี่ปุ่น
วิศวกรเครื่องกลในประเทศญี่ปุ่นได้รับเงินเดือนเท่าไหร่? #ข้อมูลประจำปี 2022
July.07.14
ทักษะขั้นสูง
ทำงานในญี่ปุ่น
วิศวกร
บทความ
April.04.29
หลายคนอาจมองว่าการเดินทางมาทำงาน ณ ประเทศญี่ปุ่นเป็นเรื่องยาก…
แต่ที่จริงแล้วถ้าหารู้จักการขอวีซ่าสำหรับทำงานอย่างถูกต้อง เหมาะสมกับความต้องการด้านแรงงานของญี่ปุ่นที่กำลังขาดแคลนหลายประเภท หรือที่เรียกกันว่า “วีซ่าทักษะเฉพาะทาง” ก็สามารถเปลี่ยนเรื่องยากให้กลายเป็นง่ายได้เช่นกัน
ดังนั้น บทความในวันนี้จึงอยากขอพาคุณผู้อ่านไปทำความรู้จักกับวีซ่าทักษะเฉพาะทาง ที่รับรองว่าจะช่วยเปิดทางให้ไปทำงานที่ประเทศญี่ปุ่นได้อย่างง่ายดาย พร้อมขั้นตอนอย่างละเอียดกัน
วีซ่าทักษะเฉพาะทาง คือ วีซ่าที่ได้ถูกออกแบบและถูกเพิ่มขึ้นในกฎหมายแรงงานสำหรับกรมตรวจคนเข้าเมืองในประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนเมษายน ปี 2019 โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ไขปัญหาสภาวะการขาดแคลนแรงงานในประเทศญี่ปุ่น
สำหรับแรงงานหรือลูกจ้างต่างชาติที่ถือวีซ่าประเภทนี้ จะมี “สิทธิ์เท่าเทียม” หรือ “มากกว่า” ผู้ที่ถือสัญชาติญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ เงินเดือน หรือสวัสดิการ และอื่นๆอีกมากมาย
-วีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภทที่ 1
-วีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภทที่ 2
โดย วีซ่าทักษะเฉพาะทาง แต่ละประเภท ค่อนข้างที่จะมีความแตกต่างกัน โดยมีรายละเอียดน่าสนใจที่ควรทราบ ดังต่อไปนี้
วีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภทที่ 1 กำหนดให้ผู้ถือวีซ่าจะต้องมีคุณสมบัติ ประสบการณ์ ทักษะและความรู้ความสามารถที่ตรงกับความต้องการสำหรับการทำงานในอุตสาหกรรมนั้นๆ
นอกจากนี้ผู้ที่ถือวีซ่าทักษะเฉพาะทางหมายเลข 1 ได้ ยังได้รับสิทธิ์ในการอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นเป็นระยะเวลารวมแล้วไม่เกิน 5 ปี อีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ถือวีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภทที่ 1 จะต้องทำการรายงานตัวต่อเจ้าหน้าที่ดูแลวีซ่าทุกเดือนเมษายนและ มิถุนายนของทุกปี และสมาชิกครอบครัวเดียวกันของผู้ถือวีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภทที่ 1 จะไม่สามารถจะไม่สามารถย้ายตามเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศญี่ปุ่นได้
ในส่วนของการเปลี่ยนแปลงสถานะวีซ่า ผู้ถือวีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภทที่ 1 จะไม่สามารถเปลี่ยนสถานะวีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภทที่ 1 ให้กลายเป็นวีซ่าพำนักถาวรได้
ผู้ที่สามารถขอถือวีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภทที่ 2 จะต้องมีคุณสมบัติทักษะเฉพาะทางที่เหมาะกับงานในแต่ละประเภทของอุตสาหกรรมที่กำลังเป็นที่ต้องการอย่างครบถ้วน
ชาวต่างชาติที่มีสิทธิ์ได้รับวีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภทที่ 2 ต้องเป็นผู้ที่เคยได้วีซ่าทักษะพิเศษเฉพาะทางหมายเลข 1 และอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นมาแล้วไม่ต่ำกว่า 5 ปี
ในขณะที่วีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภทที่ 1 ได้มีการกำหนดให้ผู้ถือวีซ่าสามารถพำนักในประเทศญี่ปุ่นได้ไม่เกินระยะเวลา 5 ปี ตราบใดที่วีซ่า ทักษะเฉพาะทาง ประเภทที่ 2 สามารถทำเรื่องขอต่อวีซ่าได้อย่างต่อเนื่องตราบเท่าที่ทักษะของผู้ถือวีซ่าตรงกับคุณสมบัติของงานประเภทที่ยื่นขอ
นอกจากนี้ การยื่นเรื่องรายงานตัวเพื่อต่อวีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภทที่ 2 นั้นไม่จำเป็นต้องทำทุกปีเหมือนกับ วีซ่าทักษะเฉพาะทาง ประเภทที่ 1 อีกด้วย และยังสามารถรายงานตัวยื่นเรื่องต่อวีซ่าได้ทุก 6 เดือน 1 ปี และ 3 ปี
อีกทั้ง ถ้าหากใครที่สามารถอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้ตามเกณฑ์ปีที่กำหนดก็สามารถขอยื่นเรื่องเพื่อเปลี่ยนสถานะของวีซ่าทักษะพิเศษเฉพาะทาง ประเภทที่ 2 ให้กลายเป็น”วีซ่าประเภทพำนักถาวร” ได้อีกด้วย
สิ่งที่น่าสนใจมากที่สุดคือ วีซ่าทักษะพิเศษเฉพาะทาง ประเภทที่ 2 ยังมอบสิทธิ์ให้กับผู้ถือครองสามารถพาครอบครัวที่ได้รับการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมายมาอาศัยร่วมกันอยู่ในประเทศญี่ปุ่นได้ โดยจะได้รับการพิจารณาเป็นรายกรณีตามความเหมาะสม
การมาทำงานในประเทศญี่ปุ่น วีซ่าทักษะพิเศษเฉพาะทางเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นอย่างมาก ดังนั้น เพื่อให้การขอวีซ่าทักษะพิเศษเฉพาะทางเป็นไปอย่างราบรื่น จึงอยากขออธิบายถึงสิ่งที่ต้องเตรียมให้พร้อมสำหรับการขอวีซ่าทักษะพิเศษเฉพาะทาง ดังต่อไปนี้
สิ่งแรกที่ผู้ต้องการยื่นวีซ่าประเภทนี้จะต้องมีผลการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น JLPT ในระดับ N4 หรือ JFT ระดับ A2 ขึ้นไป
การสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น JLPT คือการทดสอบความสามารถในการใช้ภาษาญี่ปุ่นสำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่
ผลการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น JLPT ที่ได้มากกว่า N4 ขึ้นไปจะถือว่าเป็นผู้ที่สามารถใช้ภาษาญี่ปุ่นขั้นพื้นฐาน ไม่ว่าจะเป็นการ พูด อ่าน เขียนภาษาญี่ปุ่น ในระดับการใช้ชีวิตประจำวันได้
ส่วนการสอบวัดระดับทักษะทางภาษาญี่ปุ่น JFT คือการทดสอบภาษาญี่ปุ่นที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งจำเป็นสำหรับชาวต่างชาติที่จะพำนักเพื่อทำงานในประเทศญี่ปุ่น และยังเป็นการมุ่งประเมินทักษะทางภาษาญี่ปุ่นของชาวต่างชาติที่มิได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเป็นภาษาแม่ ว่า “สามารถสนทนาในชีวิตประจำวันได้ในระดับหนึ่ง และดำเนินชีวิตประจำวันได้โดยไร้ปัญหา”
สำหรับรายละเอียดการสอบวัดระดับทักษะภาษาญี่ปุ่น JLPT รูปแบบภาษาอังกฤษได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้!
-สอบภาษาญี่ปุ่น JLPT(eng)
อ่านรายละเอียดการสอบวัดระดับทักษะภาษาญี่ปุ่น JFT ภาษาอังกฤษและภาษาไทย ได้ที่ลิงก์ด้านล่างนี้!
สอบภาษาญี่ปุ่น JFT(eng)
สอบภาษาญี่ปุ่น JFT(thai)
สิ่งสำคัญอย่างที่สอง ที่ผู้ต้องการถือวีซ่าทักษะเฉพาะทางจะต้องมีคือ “คุณสมบัติของทักษะเฉพาะทาง” การยื่นวีซ่าทักษะพิเศษเฉพาะทาง ผู้ขอจะต้องผ่านการฝึกงานด้านเทคนิคเฉพาะทางมาแล้วตามระยะเวลาที่กำหนด รวมถึงมีผลประเมินผ่านการทดสอบด้านทักษะเฉพาะทางด้วย
การทดสอบเพื่อประเมินทักษะเฉพาะทาง จะถูกทดสอบขึ้นเพื่อวัดระดับความสามารถในการทำงานด้านการใช้เทคนิคเฉพาะทาง ตามแต่ละอาชีพหรือแรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงความสามารถในการใช้ภาษาญี่ปุ่นด้วย
สำหรับความยากง่ายของการทดสอบเพื่อประเมินทักษะเฉพาะทางนั้น ขึ้นอยู่กับแต่ละประเภทของแรงงานอุตสาหกรรม โดยเชื่อว่าอุตสาหกรรมแรงงานประเภท “ทำความสะอาดอาคาร” และ “ธุรกิจร้านอาหาร” มีการประเมินที่ค่อนข้างง่าย
อย่างที่ได้กล่าวไปข้างต้นว่า ณ ปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นเกิดภาวะการขาดแคลนแรงงานเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะกลุ่มแรงงานอุตสาหกรรม 14 อาชีพดังต่อไปนี้
1.งานบริบาล
2.งานทำความสะอาดอาคารหรือตึกสูง
3.งานอุตสาหกรรมแปรรูปวัสดุ
4.อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
5.อุตสาหกรรมงานก่อสร้าง
6.อุตสาหกรรมการต่อเรือ
7.อุตสาหกรรมการบำรุงรักษาเครื่องยนต์
8.อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องจักร
9.อุตสาหกรรมการบิน
10.อุตสาหกรรมการโรงแรม
11.อุตสาหกรรมการเกษตร
12.อุตสาหกรรมการประมง
13.อุตสาหกรรมการผลิตอาหารและเครื่องดื่ม
14.อุตสาหกรรมธุรกิจร้านอาหาร
กว่าจะได้มาซึ่งวีซ่าและสามารถบินเข้าประเทศญี่ปุ่น จนถึงเริ่มทำงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย มีขั้นตอนการเตรียมตัวมากมายสำหรับชาวต่างชาติ ซึ่งบทความชิ้นนี้จะขออธิบายรายละเอียดที่น่าสนใจเป็นข้อๆ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจ ดังต่อไปนี้
1.ผ่านการสอบวัดระดับภาษาญี่ปุ่น
2.ผ่านการทดสอบความสามารถทำงานเทคนิคเฉพาะทาง
3.ค้นหาบริษัทที่เปิดรับสมัครตำแหน่งที่ต้องการ และทำการสมัครงาน
4.ผ่านการตรวจสุขภาพสำหรับคอร์สตรวจสุขภาพสำหรับผู้ที่ต้องการไปทำงานต่างประเทศ
5.สมัครยื่นขอวีซ่าทักษะพิเศษเฉพาะทาง
6.รอรับใบรับรองการพำนักในประเทศญี่ปุ่น
7.นำใบรับรองการพำนักในญี่ปุ่นไปยื่นที่สถานทูตญี่ปุ่นในประเทศไทยเพื่อยื่นขอวีซ่าทักษะพิเศษเฉพาะทาง
8.รอรับวีซ่าทักษะพิเศษเฉพาะทาง
9.หลังจากได้รับวีซ่าทักษะพิเศษเฉพาะทาง สามารถเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นได้เลย(ควรเดินทางเข้าประเทศญี่ปุ่นหลังได้รับวีซ่าภายใน 3 เดือน)
หากต้องการทำงานในประเทศญี่ปุ่นด้วยวีซ่าทักษะเฉพาะทางประเภทที่ 1 ควรทำตามขั้นตอนและเตรียมตัวตามที่ได้แนะนำกันไปแล้วในตอนต้น
แต่.. ถ้าหากต้องการผู้ช่วยให้คำปรึกษาและประสานงานเพื่อให้การขอวีซ่าทักษะพิเศษเฉพาะทาง ประเภทที่ 1 เป็นไปได้อย่างราบรื่นและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น Japan Dream Job ได้ทำการรวบรวมข้อมูลข่าวสารมากมาย ที่เป็นประโยชน์ต่อคนที่ต้องการเดินทางไปทำงาน ณ ประเทศญี่ปุ่นได้อย่างราบรื่นยิ่งขึ้น อาทิเช่น
1.คำแนะนำสำหรับการเตรียมตัวก่อนเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น
2.บริการรับ-ส่งสนามบินตั้งเมื่อเดินทางถึงและเดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น
3.ดูแลและให้การช่วยเหลือเพื่อหาสถานที่อยู่อาศัย รวมถึงค้ำประกันการทำสัญญาเช่าที่พักในประเทศญี่ปุ่น
4.ดูแลและพาไปเปิดบัญชีธนาคาร รวมถึงเบอร์โทรศัพท์ในประเทศญี่ปุ่น
5.การปฐมนิเทศเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการอยู่อาศัยในประเทศญี่ปุ่น
6.ดูแลและสนับสนุนการเรียนภาษาญี่ปุ่น
7.ดูแลให้คำปรึกษาในการใช้ชีวิตและทำงานในประเทศญี่ปุ่น (Advisor)
8.ให้ข้อมูลและสนับสนุนในด้านต่างๆ
9.จัดสัมมนาเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างคนญี่ปุ่นและไทย
10.รองรับและสนับสนุนการเปลี่ยนงานสำหรับชาวต่างชาติที่ทำงานในประเทศญี่ปุ่น
การเดินทางไปทำงานประเทศญี่ปุ่นด้วยวีซ่าเทคนิคเฉพาะทางนั้น ไม่ยากอย่างที่คิด…
เพียงแค่คุณมีความสามารถทางภาษาญี่ปุ่นในระดับขั้นพื้นฐาน รวมถึงมีความสามารถพิเศษทางด้านการทำงานเทคนิคเฉพาะทาง
เพียงเท่านี้คุณก็สามารถทำเรื่องยื่นวีซ่าเพื่อมาทำงานในประเทศญี่ปุ่นได้ โดยเริ่มต้นจากการยื่นขอวีซ่าเทคนิคเฉพาะทางประเภทที่ 1 จากนั้นทำงานให้ครบ 5 ปี
หากต้องการใช้ชีวิตในประเทศญี่ปุ่นต่อ สามารถยื่นเรื่องเปลี่ยนวีซ่าเป็นประเภทเทคนิคเฉพาะทางประเภทที่ 2 และอาศัยอยู่ในประเทศญี่ปุ่นอย่างถูกกฎหมายจนถึงตามระยะเวลาที่กำหนด ก็สามารถยื่นเรื่องขอพำนักในญี่ปุ่นแบบประเภทถาวรได้ไม่ยากอย่างที่คิด..
ประเทศญี่ปุ่น
เปิดประตูต้อนรับคุณแล้ว
เมื่อประมาณช่วงเดือนเมษายน ปี พศ. 2562
ประเทศญี่ปุ่นได้ประกาศประเภทวีซ่าสำหรับการทำงานชนิดใหม่ที่มีชื่อว่า "วีซ่าความชำนาญเฉพาะทาง" หรือ SSV (Tokutei Ginou Visa) ซึ่งวีซ่าประเภทนี้เปิดโอกาสให้กับต่างชาติที่ต้องการทำงานในประเทศญี่ปุ่น สามารถทำได้ง่ายและเข้าถึงงานที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทางได้อย่างดี และด้วยเหตุผลนี้จากความฝันที่ว่าอยากทำงานในประเทศญี่ปุ่นจึงกลายมาเป็นความจริงในที่สุด